แผนการเรียนรู้ที่ ๑
เรื่อง ตัวการันต์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เวลา ๑ ชั่วโมง
วันที่ ผู้สอน
๑.มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐาน ท. ๔.๑
เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา
ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
ป. ๕/๑ ระบุชนิดและหน้าที่ของคำและประโยค
๒.จุดประสงค์การเรียนรู้
๑)นักเรียนบอกความหมายของตัวการันต์ได้
๒)นักเรียนตั้งใจเรียนและตั้งใจทำงานกลุ่ม
๓)นักเรียนยกตัวอย่างคำที่มีตัวการันต์ได้
๓.สาระสำคัญ
ตัวการันต์ คือ
เครื่องหมายที่กำกับอยู่บนพยัญชนะที่เราไม่ต้องการออกเสียงหรือพยัญชนะที่มีตัวการันต์
หรือ เครื่องหมายทัณฑฆาต กำกับอยู่จะไม่ออกเสียง
๔.กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู้บทเรียน
๑)ครูกล่าวคำทักทายนักเรียน
๒)ครูมีปริศนาคำทายมาให้นักเรียนช่วยกันทาย
(คำตอบจะเป็นคำที่มีตัวการันต์)
-เมื่อนักเรียนตอบถูกต้องให้ครูนำคำตอบติดกระดาน
ขั้นสอน
๑)ครูถามนักเรียนว่า
“นักเรียนลองสังเกตคำที่อยู่บนกระดานสิคะว่า มีอะไรที่เปลี่ยนไปจากคำปกติ”
๒)ครูเฉลยว่า คำที่อยู่บนกระดานคือ
คำที่มีตัวการันต์
๓)ครูอธิบายความหมายและหน้าที่ของตัวการันต์
ตัวการันต์ หรือเราเรียกอีกอย่างว่า ไม้ทัณฑฆาต คือ พยัญชนะที่มีตัวการันต์
หรือไม้ทัณฑฆาตกำกับอยู่ พยัญชนะตัวนั้นจะไม่อ่านออกเสียงซึ่งตัวการันต์จะอยู่กลาง
หรือท้ายคำก็ได้ และการันต์ แบ่งได้เป็น ๔ ลักษณะ ดังนี้
( ๑)ตัวการันต์ที่มีพยัญชนะ ๑ ตัว ยกตัวอย่าง
เช่น รถยนต์ แพทย์
(๒)ตัวการันต์ที่มีพยัญชนะ ๒ ตัว ยกตัวอย่าง เช่น ดวงจันทร์
(๓)ตัวการันต์ที่มีพยัญชนะ ๓ ตัว ยกตัวอย่าง เช่น พระลักษมณ์
(จะไม่ค่อยปรากฏ)
(๔)ตัวการันต์ที่มีทั้งสระและพยัญชนะ
ยกตัวอย่าง เช่น พันธุ์ไม้
๔)คุณครูให้นักเรียนที่ชื่อมีตัวการันต์ออกมาเขียนชื่อของตนบนกระดาน
-ครูพานักเรียนอ่านสะกดคำชื่อเพื่อนบนกระดาน
-บอกว่าชื่อนั้นเป็นชื่อที่มีตัวการันต์กี่ตัว
๕)ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น ๒-๓ กลุ่ม
เพื่อเล่นเกม
-ครูจะมีบัตรพยัญชนะให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม
-ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันเรียงบัตรพยัญชนะเหล่านั้นให้เป็นคำที่สมบูรณ์
-นักเรียนแต่ละกลุ่มอกไปนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนพร้อมกับบอกคำว่าคำนั้นเป็นคำที่มีตัวการันต์กี่ตัว
ขั้นสรุป
๑)ครูกล่าวบททบทวนความรู้และทบทวนกิจกรรม
๒)ครูให้นักเรียนทำใบความรู้
๕.การวัดผลและประเมินผล
-ใบความรู้
-สังเกตการณ์ตอบคำถาม/การมีส่วนร่วมในกิจกรรม
๖.สื่อ/แหล่งความรู้
๑)ใบความรู้เรื่องตัวการันต์
๒)บัตรพยัญชนะ/สระ/วรรณยุกต์
๓)ปริศนาคำถาม
๔)บัตรคำที่มีตัวการันต์
Body scan จากการฟังการสอน
ขั้นเตรียม
ครูให้เด็กๆ นอนในท่าที่สบาย ค่อยๆปิดเปลือกตา ให้หายใจเข้าออกยาวๆ
ประมาณสี่ถึงห้าครั้ง เพื่อจับความรู้สึกที่ปลายจมูกที่ปรากฏชัด
แล้วจดจ่อเพื่อรับความรู้สึกที่ปลายจมูกอย่างต่อเนื่อง
ขั้น Scan
ปล่อยร่างกายของเราได้หลับสบายเพื่อให้เราได้รู้ขอบคุณร่างกายของเรา
ขอบคุณเท้าทั้งสองข้างที่นำพวกเราไปยังที่ต่างๆ ตั้งแต่เล็กจนโต
ขอบคุณขาทั้งสองข้างที่ทำให้เรายืนขึ้นได้อย่างมั่นคง
ขอบคุณมือทั้งสองข้างของเราที่ช่วยทำให้สิ่งต่างๆ ที่ดีงามให้เกิดขึ้นแก่โลกใบนี้
ขอบคุณลมหายใจที่ยังอยู่กับเรา
วันนี้ครูมีวรรณกรรมเรื่อง นางฟ้าสีเขียว มาอ่านให้พี่ๆ ฟัง
ขั้นปลุก
เราจะได้ยินการนับ ๑-๓ เพื่อให้เราเริ่มรู้สึกตัว
นับ ๑ เรารู้สึกที่มือทั้งสองข้างของเรา
นับ ๒ เรารู้สึกที่ฝ่าเท้าทั้งสองข้างของเรา
นับ ๓ เราค่อยๆ ลืมตา ค่อยๆ
กระพริบตาเพื่อปรับสายตาของเราให้เข้ากับแสงสว่าง
เราจะบอกตัวเองว่าเราจะตื่นมาพร้อมกับความสดชื่น เราจะเอียงตัวลุกขึ้นนั่ง
เราจะช่วยดูแลเพื่อนข้างๆ แล้วเราค่อยๆ สะกิดคนข้างเราอย่างเบาๆ
เมื่อพี่ๆรู้สึกตัวแล้วให้พี่ๆใช้นิ้วมือทั้งสองข้างนวดที่เปลือกตาเบาๆจากนั้นก็นวดบริหารคอโดยการผงกศีรษะขึ้นและลงอย่างช้าๆ
และนั่งตัวตรงใช้นิ้วมือทั้งสองข้างผสานกันและยกมือที่ผสานกันขึ้นทำช้าๆ ๓-๔ ครั้ง
กิจกรรมจิตศึกษา
สัปดาห์
|
วัน
|
เป้าหมาย
|
กิจกรรม
|
สื่อ/อุปกรณ์
|
๑
|
จันทร์
๒๘ ธ.ค. ๕๘
|
-มีจิตอยู่กับตัวเอง
-ใคร่ครวญและเชื่อมโยงตนเองกับสิ่งอื่นๆ
-ถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้
|
กิจกรรม: การเล่าเรื่อง “เพื่อนครูหูหนวก”
ขั้นเตรียม: Monitor ให้สัญญาณ ครูและนักเรียนสวัสดีซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อม
นักเรียนนั่งเป็นวงกลม หลับตาสมาธิ ๒-๓ นาที
-Brain gym
ขั้นกิจกรรม: ครูเล่าเรื่อง “เพื่อนครูหูหนวก”
-ครูใช้คำถามกระตุ้น “พี่ๆรู้สึกอย่างไร”
-นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
-ครูแจกกระดาษ A๔ ให้นักเรียนคนละ ๑
แผ่น
-ครูใช้คำถามกระตุ้น
“ถ้านักเรียนมีเพื่อนที่หูหนวกอยู่ในห้องเรียนอยากช่วยเพื่อนคนนี้อย่างไร”
-ให้นักเรียนพับกระดาษเป็น ๒ ส่วน ส่วนที่ ๑
ให้เขียนความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องที่ฟัง
ส่วนที่ ๒ เขียนว่าอยากช่วยเพื่อนหูหนวกอย่างไร
-นักเรียนแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งที่เขียนแลกเปลี่ยนกัน
ขั้นจบ: ครูพูดให้ Empower ชื่นชมความตั้งใจของผู้เรียน
-ตัวแทนห้อง Monitor ให้สัญญาณครูและนักเรียนขอบคุณ
|
-ดินสอ/ปากกา
-เรื่องเล่า “เพื่อนครูหูหนวก”
-กระดาษ A๔
|
แผนการจัดการเรียนรู้ ( แบบลำปลายมาศ )
Day
วัน
|
Input
|
Output Process
กิจกรรมการเรียนรู้
|
Output
|
Outcome
|
จันทร์
|
โจทย์
ตัวการันต์
คำถาม
-ตัวการันต์ทำหน้าที่อย่างไร
-ตัวการันต์มีกี่ลักษณะอะไรบ้าง
-นักเรียนจะแต่งเรื่องสร้างสรรค์จากตัวการันต์ได้อย่างไร
เครื่องมือคิด
-Blackboard share คำที่มีตัวการันต์
-Key questions คำถามกระตุ้นความคิดเกี่ยวกับตัวการันต์
หน้าที่ ลักษณะ และการนำไปใช้
-Show and share การแต่งเรื่องคำที่มีตัวการันต์
-Wall thinking ผลงานการ์ตูนช่องเกี่ยวกับตัวการันต์
-Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับหน้าที่ลักษณะของตัวการันต์และการนำไปใช้
บรรยากาศ/สื่อ
-ห้องเรียน
วรรณกรรม
|
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนร่มกันสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้เกี่ยวกับคำที่มีตัวการันต์
ชง:
-ครูนำปริศนาคำถามมาให้นักเรียนร่วมค้นคำตอบ โดยคำตอบของปริศนานั้นจะเป็นคำที่มีตัวการันต์อยู่
-เมื่อนักเรียนทายถูก ครูจะเขียนคำตอบบนกระดาน
-นักเรียนเห็นอะไรบ้าง
-นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นจากการเล่นปริศนาคำทาย
-ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิดจากเกมที่เล่น
นักเรียนสังเกตเห็นลักษณะของตัวการันต์อย่างไรบ้าง
เชื่อม:
-นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่มกัน ๓-๔ คน
-นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันหาลักษณะของตัวการันต์จากเกมปริศนาคำทายว่ามีกี่ลักษณะ
-นักเรียนช่วยกันแยกคำที่มีตัวการันต์แต่ละคำให้ตรงกับลักษณะ
-นักเรียนแต่ละคนช่วยกันนำคำที่มีตัวการันต์มาแต่งเรื่องราว
ใช้:
-นักเรียนแต่ละคนนำเรื่องที่แต่งมาทำเป็นการ์ตูนช่องพร้อมกับตกแต่งให้สวยงาน
-ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับตัวการันต์
|
ชิ้นงาน
การ์ตูนช่อง
ภาระงาน
-พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
-นำเสนอผลงานและทบทวนเกี่ยวกับตัวการันต์ร่วมกันในชั้นเรียน
|
ความรู้
การอ่าน เขียน และการนำตัวการันต์ไปใช้
ทักษะ
-คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบการ์ตูนช่องที่ได้จากการเรียนรู้เรื่องตัวการันต์
-ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
-เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆระหว่างการเรียนและการร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
-เห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความพยายามในการทำงาน
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น