เป้าหมายรายสัปดาห์
นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วแล้วจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน
และสามรารถถ่ายทอดและอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจและใช้เหตุผลแสดงความคิดเห็นกับเรื่องที่อ่านได้
สามารถอธิบายเกี่ยวกับชนิดและหน้าที่ของคำบุพบท
คำอุทานและสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
รวมถึงการนำคำบุพบทและคำอุทานมาแต่งเรื่องราวตามจินตนาการของตนเองอย่างสร้างสรรค์
สามารถนำความรู้ที่ได้จากการอ่านวรรณกรรมไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
Week
|
Input
|
Process ( กิจกรรมการเรียนรู้)
|
Output
|
Outcome
|
๑๐
๑๘-๒๒ ก.ค. 59
|
โจทย์ :
-อ่านวรรณกรรมเรื่อง วรรณกรรมอธิษฐานสิจ๊ะ
กับนางฟ้าสีเขียว ตอน พ่อไปโรงเรียน
คำถาม :
-ถ้าให้เปรียบพ่อเป็นสิ่งต่าง
นักเรียนจะเปรียบพ่อเป็นอะไร เพราะเหตุใด
-สำนวนสุภาษิตเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอย่างไร
หลักภาษา
-สำนวนสุภาษิตคำพังเพย
เครื่องมือคิด
- Blackboard Share
ถ่ายทอดหรือนำเสนอความคิดของตนเองในรูปแบบการเขียน
- Show and Share
นำเสนอผลงานของตนเอง
และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสิ่งที่ศึกษาค้นคว้า
-Brainstorms
การช่วยกันคิดระดมสมอง
สื่อ และแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
–บัตรคำ
-ห้องสมุด
อินเทอร์เน็ต
- อธิษฐานสิจ๊ะ
กับนางฟ้าสีเขียว
ตอน เมื่อผมเป็นผู้ใหญ่ขึ้น
|
วันอังคาร
ชง :-ครูแนะนำวรรณกรรมเรื่อง วรรณกรรมอธิษฐานสิจ๊ะ
กับนางฟ้าสีเขียว ตอน พ่อไปโรงเรียน
เชื่อม :-นักเรียนอ่านวรรณกรรมเรื่อง
วรรณกรรมอธิษฐานสิจ๊ะ
กับนางฟ้าสีเขียว ตอน พ่อไปโรงเรียน
วันพุธ
เชื่อม : -ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันเล่าเรื่องให้เพื่อนๆฟัง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ :
นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์
ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ :
นักเรียนเคยพบเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้จากที่ใด และนักเรียนมีวิธีการจัดการอย่างไร
ประเมินค่า :
นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ :
นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องและเขียนแสดงความคิดเห็นลงในกระดาษ
-สนทนาแลกเปลี่ยนความรู้
แสดงความคิดเห็น
ใช้ : -ครูใช้คำถาม
ถ้าให้เปรียบพ่อเป็นสิ่งต่าง นักเรียนจะเปรียบพ่อเป็นอะไร เพราะเหตุใด
ครูให้นักเรียนเขียนบรรยายและตกแต่งให้ส่วยงาม
วันพฤหัสบดี
ชง :-ครูนำนิทานสุภาษิตมาให้นักเรียนฟัง
-ครูให้นักเรียนถอดรหัสพยัญชนะ
( สำนวนสุภาษิตไทย)
เชื่อม : -ครูถามคำถามว่าสิ่งที่ครูนำมาให้อ่านเรียนว่าอะไร
และนักเรียนเคยได้ยินจากที่มาลองยกตัวอย่าง
-นำข้อมูลที่ได้มาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
วันศุกร์
ชง :-ครูทบทวนวรรณกรรมที่เรียน
และทบทวนเรื่องสำนวนสุภาษิต คำพังเพย
ใช้ :-นักเรียนจับสลากเลือกหมวดอักษรคนละ10
สำนวนเพื่อทำเป็นสมุดเล่มเล็กสำนวนสุภาษิตไทย
-นำเสนอผลงาน
-สรุปองค์ความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งสัปดาห์ในรูปแบบ
Flow chart
|
ภาระงาน
-อ่านวรรณกรรม วิเคราะห์แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้
-เล่นเกมถอดรหัสคำ
-ศึกษาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้
-สรุปองค์ความรู้
ชิ้นงาน
-เขียนสรุปเรื่องที่อ่าน
-ศึกษาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้
-สมุดสุภาษิตเล่มเล็ก
-
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในรูปแบบ
Flow chart
|
ความรู้
เข้าใจสามารถอธิบายความหมายและยกตัวอย่างสำนวนสุภาษิตคำพังเพย
รวมถึงการตั้งคำถาม ตอบคำถาม การลำดับเห็นการ
คาดคะเนเหตุการณ์จากวรรณกรรมที่อ่านให้ผู้อื่นเข้าใจได้
และสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านวรรณกรรมไปปรับใช้กับการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม
ทักษะ
-ทักษะชีวิต
สามารถนำวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้กับการดำรงชีวิตของตนเองได้
-ทักการสื่อสาร
สามารถอธิบาย ถ่ายทอดความรู้สึก
ความคิดให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจได้
-ทักษะทำงานร่วมกับผู้อื่น
รับฟังความคิดเห็นจากผิอื่น
และมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน
-ทักษะการคิดสร้างสรรค์
มีความความคิดที่แปลกใหม่
สรรค์ชิ้นงานหลายรูปแบบ
คุณลักษณะ
เคารพสิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดของตนเองและผู้อื่นอย่างมีเหตุ-ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
-มีความรับผิดชอบ
–มีความคิดสร้างสรรค์
|
ภาพกิจกรรมการเรียนรู้
ในสัปดาห์ที่10 เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการจัดการเรียนการสอนบวกกับเป็นวันหยุดราชการในช่วงเข้าพรรษสองวันที่เหลือของสัปดาห์นี้จึงเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการสรุปองค์ความรู้ที่เรียนมาตลอดทั้ง 9 สัปดาห์ซึ่งก็ช่วยกันระดมความคิดเกี่ยวกับองค์ความรู้ที่ได้เรียนผ่านมา ซึ่งเป็นการทบทวนความรู้เดิมไปด้วย จากนั้นมีการสรุปองค์ความรู้เป็นชิ้นงานในรูปแบบของ Mind Mapping
ตอบลบ